นักวิจัยพบว่า การใช้เสิร์ชเอ็นจิ้นกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการจำของมนุษย์ โดยผู้ใช้จะจำแค่ว่า ข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหน? และไม่มั่นใจในความจำของตัวเองอีกต่อไป (อาการที่หลายคนพูดติดตลกเวลาตอบคำถามไม่ได้ว่า อยากรู้อะไร? ก็ถาม Google ก่อนที่จะบอกว่า ไม่แน่ใจ หรือจำไม่ได้) หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พิสูจน์จากการทดสอบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 4 แบบที่จัดทำโดย Sparrow และทีมวิจัย ที่พบว่า ผู้คนทีใช้เสิร์ชจะมีวิธีจำข้อมูลข่าวสารอย่างไร? ซึ่งส่วนใหญ่จะจำแค่ว่า มันอยู่ที่ไหนสักแห่งที่เข้าถึงได้ (อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต) แทนที่จะตอบได้เลยว่า มันคืออะไร?
ในแต่ละกรณีของผลการศึกษาพบว่า คนทั่วไปวันนี้ให้ความสำคัญที่การทราบว่า ข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหนบนอินเทอร์เน็ต และหากมันถูกหาพบได้ง่าย พวกเขาเลือกที่จะจดจำที่พบข้อมูลเหล่านั้น มากกว่าจดจำว่า ข้อมูลนั้นคืออะไร? แต่หากข้อมูลนั้นไม่สามารถค้นหาได้ง่ายบนออนไลน์ พวกเขาจึงจะสนใจที่จะจดจำข้อมูลเหล่านั้น "สมองของเราขึ้นอยู่กับอินเทอร์เน็ตสำหรับการจดจำเรื่องราวต่างๆ มากเกินไป (ไม่ต่างกับที่เราไม่จำเรื่องราวบางอย่างที่เพื่อนเรา คนในครอบครัวเรา หรือเพื่อนรวมงานเรารู้) เราจำข้อมูลข่าวสารที่เป็นความรู้น้อยกว่ารู้ว่าพวกมันสามารถหาพบได้ที่ไหน?" Sparrow กล่าวพร้อมทั้งยกตัวอย่างเช่น "ฉันชอบดูเบสบอล แต่ฉันรู้ดีว่า สามิของฉันรู้เรื่องเบสบอลดีกว่า เพราะฉะนั้น เมื่อฉันต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับเบสบอล ฉันก็จะถามสามีฉันแทน ไม่เห็นต้องจำ (ให้เปลืองสมองเลย...พูดเหมือนสมองใช้แล้วหมดไป?) มันเลย" ประเด็นที่น่าคิดก็คือ Sparrow ความสามารถในการจดจำของมนุษย์ไม่ได้ลดลง แต่ความต้องการในการจดจำของเราต่างหากที่เปลี่ยนไป คุณผู้อ่านล่ะครับ คิดอย่างไรกับผลการศึกษานี้
ข้อมูลจาก: Sciencemag
tags : google,google SEO,Google Map
ที่มา | ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์