Phishing สามารถทำได้โดยการขโมยหรือนำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ตลอดจนรูปลักษณ์ของ ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง และบัตรเครดิตประเภทต่างๆของผู้ประกอบการ การให้สินเชื่อทางอินเตอร์เน็ต มาประกอบเข้ากับการหลอกลวงเหยื่อหรือผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูล ซึ่งมีการประเมินเบื้องต้นว่า การโจมตีในรูปแบบของ phishing สามารถหลอกให้เหยื่อร้อยละ 5 ของทั้งหมด เปิดเผยข้อมูลที่ต้องการ นอกจากนี้ ผู้โจมตี (Hacker หรือ Spammer) ยังใช้ยุทธวิธีการหลอกลวงแบบ Social Engineering ประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช่น การหลอกลวงชื่ออี-เมล์ เป็นต้นว่า เป็นเรื่องด่วนจากธนาคาร การหลอกลวงว่าบัญชีที่ใช้งานจะหมดอายุ การเสนอสินค้าที่มีดอกเบี้ยต่ำต่างๆ เป็นต้น
เนื่องจากการโจมตีแบบ phishing ได้มีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศ ซึ่งทำให้คาดการณ์ได้ว่า อาจมีการแพร่เข้ามาในประเทศไทยในอีกไม่นานนี้ จึงมีความจำเป็นต้องแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบถึงภัยที่มีความรุนแรงนี้
ระวังอี-เมล์หลอกลวง
การหลอกลวงให้ลูกค้าธนาคารหลงเชื่อว่ามีอี-เมล์มาจากธนาคาร แจ้งข่าวว่ามีการปรับปรุงฐานข้อมูล ทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าบางส่วนสูญหาย จึงต้องขอให้ลูกค้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตเข้าไปใหม่ โดย อี-เมล์ดังกล่าวมีสัญลักษณ์ของธนาคารจริง มี URL ให้คลิกได้โดยมีชื่อโดเมนและ subdirectory เป็นจริงมาก ลูกค้าธนาคารที่คุ้นเคยกับ URL นี้จะพบว่าเหมือน URL ปกติที่ใช้งานจริง แต่เมื่อวิเคราะห์ตรวจสอบโดยละเอียดแล้ว พบว่าข้อความที่เป็น URL ที่ขีดเส้นใต้นั้น (http://web.da-us.citbank.com/signin/citifi/scripts/login2/user_setup/jsp) อันที่จริงได้มีการทำ hypertext link ไปที่
(http://web.da-us.citibank.com/citifi/scripts/@isapi100.info/index.htm) ซึ่งหมายถึงเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่ของธนาคารนั้น แต่เป็น http://isapi100.info/ คาดหมายได้ว่าเป็นเว็บดักให้คนมากรอกข้อมูลบัตรเครดิต
คำแนะนำคือ หากมีอี-เมล์เช่นนี้มาถึงท่านและบังเอิญท่านใช้บริการบัตรเครดิตหรือ Internet Banking ของธนาคารนั้นอยู่ ท่านไม่ควรทำอะไรก็ตามที่อี-เมล์นั้นบอกมา ควรติดต่อธนาคารทางและสอบถามด้วยตัวท่านเอง สำหรับผู้ให้บริการ ISP ท่านอาจจะพิจารณาว่าจะสกัดเว็บเช่น isapi100.info หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าของท่านถูกหลอกเอาข้อมูลบัตรเครดิต ตัวอย่าง phishing จาก http://antiphishing.org/
กรณีตัวอย่างการใช้อี-เมล์หลอกลวงที่เกิดขึ้นมีดังนี้
1. ระวังอี-เมล์ : ตัวอย่างกรณีของลูกค้าธนาคาร 08-Apr-2004
Phishing นี้เป็นการปลอมแปลงเว็บไซต์ของธนาคารโดยมีการเชื่อมโยง link ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งหลอกลวงลูกค้าธนาคาร มีลักษณะที่คล้ายคลึงเว็บไซต์ของธนาคารมาก มีการแจ้งกับลูกค้าธนาคารในการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลและมีการให้ลูกค้าธนาคาร กรอกข้อมูลใหม่ ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้ากรอกใหม่ เช่น รหัสบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล บัญชีผู้ใช้(Username) รหัสผ่าน(Password)
ภาพที่ 1.1 แสดงการเชื่อมโยง link ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งหลอกลวงลูกค้าธนาคาร มีลักษณะที่คล้ายคลึงเว็บไซต์ของธนาคารมาก |
ภาพที่ 1.2 แสดงการให้ลูกค้าธนาคารกรอกข้อมูลใหม่ อาทิ เลขที่บัญชี และข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น |
Phishing นี้เป็นอี-เมล์หลอกลวงว่าข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าได้ถูกขโมยไปหรือใช้โดยผู้อื่น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ ให้ลูกค้าคลิกที่ปุ่ม continue เพื่อเข้าไปใส่ข้อมูลส่วนบุคคลของตนอีกครั้ง
ถูกนำไปใช้โดยผู้อื่นหรือเกิดการสูญหายและให้เข้าไปกรอกใหม่
Phishing นี้เป็นการหลอกลวงลูกค้าของ eBay โดยแจ้งว่า eBay ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากข้อมูลเปลี่ยนแปลงไป หรือไม่สมบูรณ์ จึงขอให้ลูกค้าคลิกตาม link เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงข้อมูลบัญชีผู้ใช้(Username) และ รหัสผ่าน(Password) ด้วย
Phishing นี้เป็นการหลอกลวงว่า eBay ประสบกับปัญหาการฉ้อโกงจากลูกค้าและทำให้ eBay ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของบัญชีธนาคารของลูกค้า และขอให้ลูกค้าคลิก link เข้าไป
- หยุดคิดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับทางอี-เมล์ หรือข้อมูลที่เข้าไปดูในเว็บไซต์ทุกครั้ง
- ควรลบข้อมูลที่น่าสงสัยนั้นทิ้งทันที
- หากมีความจำเป็นต้องกรอกหรือส่งข้อมูลใดทางเว็บไซต์ ต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ดังกล่าวว่ามีตัวตนหรือมีการรับรองหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรติดต่อไปยังเจ้าของเว็บไซต์หรือเจ้าของสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อสอบถามข้อมูลและยืนยันข้อมูลก่อนการดำเนินการใดๆ
- ไม่ควรเข้าไปในเว็บไซต์หรือรันไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ซึ่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไม่มั่นใจว่าผู้ส่งเป็นใคร หรือไม่ทราบว่าไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์อะไร ตลอดจนเว็บไซต์หรือไฟล์ที่ถูกส่งมาด้วยโปรแกรมสนทนาประเภทต่างๆ เช่น IRC, ICQ, MSN หรือ PIRCH เป็นต้น
- ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (patch) ของทุกซอฟแวร์ที่มีการใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านอยู่เสมอ
- ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ผ่านทางอี-เมล์ ของศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (ThaiCERT) http://www.thaicert.nectec.or.th/mailinglist/register.php
ที่มา | ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์
เผยแพร่เมื่อ : 1 มิถุนายน 2547
เผยแพร่เมื่อ : 1 มิถุนายน 2547