“เบียร์” หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านกระบวนการหมักผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์มีมายาวนาน นับเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก เริ่มผลิตเมื่อราว 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติบาบิโลเนียน
เบียร์เกิดจากการหมักข้าวบาร์เลย์ (มี ปริมาณเอนไซม์อะไมเลสสูง ซึ่งทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว) เริ่มจากการเพาะเมล็ดข้าวบาร์เลย์จนงอก เกิดเอนไซม์ เปลี่ยนเป็นน้ำตาล เรียกว่าข้าวมอลต์ แล้วนำไปต้มด้วยความร้อนต่ำกับน้ำที่ปรับสภาพจนได้ที่ แป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลอีกขั้น จากนั้นส่วนผสมที่ต้มแล้วจะถูกส่งผ่านเข้าเครื่องกรองเพื่อแยกกากข้าวมอลต์ ออก เหลือส่วนที่เป็นของเหลวที่มีน้ำตาลข้าวมอลต์ละลายอยู่ เรียกว่า เวิร์ต ซึ่งจะถูกส่งเข้าหม้อต้มแล้วเติมฮอป ดอกของพืชล้มลุกที่ทำให้เบียร์มีรสขมสมดุลรสหวานจากมอลต์ นอกจากนั้นยังมีผลเป็นยาปฏิชีวนะ ต่อต้านจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยีสต์ ส่งผลต่อการหมัก
เมื่อต้มต่อไปจนได้ที่จึงนำไปทำให้เย็นลง แล้วกรองแยกกากและส่วนที่เหลือของฮอปออกเพื่อเข้าสู่การหมักซึ่งต้องอาศัย ยีสต์ที่เป็นตัวเปลี่ยนน้ำตาลข้าวมอลต์ส่วนใหญ่ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ หมักได้ที่แล้วจะนำไปบ่มในถังเก็บที่ควบคุมความดันในห้องที่เย็นจัด เพื่อให้ยีสต์และโปรตีนจากข้าวมอลต์ที่ไม่ละลายตกตะกอน บ่มจนครบกำหนดอายุแล้วนำเบียร์ที่ได้มากรองเอาส่วนที่ตกตะกอนออก เมื่อกรองแล้วเบียร์ที่ได้ในขั้นนี้เรียกว่า เบียร์สด ส่วนหนึ่งบรรจุลงถัง อีกส่วนหนึ่งนำไปบรรจุขวดแล้วผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรค เมื่อปิดฉลากแล้วก็พร้อมที่จะส่งให้ผู้บริโภค
กรรมวิธีการผลิตเบียร์แต่ละชนิดแตกต่างกันที่ขั้นตอน เช่น เบียร์ลาเกอร์ (Lager) เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการหมัก ต้องเก็บรักษาไว้ในห้องที่มีความเย็นต่ำอีกระยะหนึ่ง จึงจะนำมากรองดื่มได้อร่อย เบียร์ที่ขายทั่วโลกประมาณร้อยละ 90 เป็นเบียร์ลาเกอร์ การผลิตเบียร์ลาเกอร์มีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับฝีมือผู้ปรุงเบียร์ และความนิยมของท้องถิ่น เช่น เบียร์ซานมิเกลของฟิลิปปินส์ เบียร์ซิงเตาของจีน เบียร์ลาวของลาว เบียร์สิงห์ของไทย เป็นต้น
เบียร์สด (อังกฤษ: draft beer , draught beer) เป็นเบียร์ที่จะไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อระบบพาสเจอร์ไรส์ คือเบียร์จากถังหมักจะไม่บรรจุใส่ขวดหรือกระป๋อง และเบียร์ชนิดนี้จะมีวันหมดอายุที่สั้นกว่าเบียร์ชนิดอื่นๆ
ที่มา https://th.wikipedia.org
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่